เอเลี่ยน (แฟรนไชส์)
เอเลี่ยน Alien | |
---|---|
โลโก้แฟรนไชส์อย่างเป็นทางการ | |
สร้างโดย | แดน โอแบนนอน โรนัลด์ ชูเซตต์ |
งานต้นฉบับ | เอเลี่ยน (1979) |
เจ้าของ | ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ |
สื่อสิ่งพิมพ์ | |
นวนิยาย | รายชื่อนวนิยาย |
การ์ตูน | รายชื่อการ์ตูน |
ภาพยนตร์และโทรทัศน์ | |
ภาพยนตร์ |
ภาพยนตร์ชุดดั้งเดิม
|
ภาพยนตร์สั้น | รายชื่อภาพยนตร์สั้น |
เว็บซีรีส์ | |
การแสดงละคร | |
ละคร |
|
เกม | |
ดั้งเดิม | สินค้า |
วิดีโอเกม | รายชื่อวิดีโอเกม |
เสียง | |
เพลงประกอบ |
|
เบ็ดเตล็ด | |
ของเล่น | สินค้า |
เอเลี่ยน (อังกฤษ: Alien) เป็นสื่อแฟรนไชส์แนวบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญและโลดโผน มีศูนย์กลางอยู่ที่ภาพยนตร์ชุดดั้งเดิม ซึ่งแสดงการต่อสู้ระหว่าง พันจ่าเอลเลน ริปลีย์ (ซิกอร์นีย์ วีเวอร์) กับสิ่งมีชีวิตนอกโลก เรียกโดยทั่วไปว่าเอเลี่ยน ("ซีโนมอร์ฟ") ขณะที่ภาพยนตร์ชุดต้นเล่าเรื่องราวของแอนดรอยด์ เดวิด 8 (มิชชาเอล ฟัสเบ็นเดอร์) และผู้สร้างสัตว์ประหลาดเอเลี่ยนที่เรียกว่า "เอนจิเนียร์ส"
ภาพยนตร์ชุดสร้างและจัดจำหน่ายโดย ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ โดยเริ่มต้นจากภาพยนตร์ เอเลี่ยน (1979) กำกับโดย ริดลีย์ สก็อต ตามมาด้วยภาพยนตร์ภาคต่ออีกสามภาค ได้แก่ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) กำกับโดย เจมส์ แคเมรอน, เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล (1992) กำกับโดย เดวิด ฟินเชอร์ และ เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ (1997) กำกับโดย ฌอง-ปีแอร์ จูเนต์ สก็อตยังได้กำกับภาพยนตร์ชุดต้น ประกอบด้วย โพรมีธีอุส (2012) และ เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ (2017) ขณะที่ เอเลี่ยน: โรมูลัส (2024) กำกับโดย เฟเด อัลวาเรซ เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องระหว่าง เอเลี่ยน และ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก
ภาพยนตร์ชุดยังนำไปสู่การสร้าง นวนิยาย, การ์ตูนและวิดีโอเกม จำนวนมาก รวมถึงละครชุดทางโทรทัศน์ในชื่อ เอเลี่ยน: เอิร์ท พัฒนาโดยสก็อตร่วมกับ โนอาห์ ฮอว์ลีย์ สำหรับเอฟเอ็กซ์ออนฮูลู มีการข้ามฝั่งกันระหว่างแฟรนไชส์ เอเลี่ยน กับ แฟรนไชส์ พรีเดเตอร์ กลายเป็น แฟรนไชส์ เอเลี่ยน ปะทะ พรีเดเตอร์ ทำให้เกิดเป็นภาพยนตร์สองเรื่อง, การ์ตูน, หนังสือและวิดีโอเกมตามมา
ฉากหลัง
[แก้]แฟรนไชส์ เอเลี่ยน แสดงการเผชิญหน้าที่อันตรายระหว่างมนุษยชาติกับซีโนมอร์ฟ สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างดาวที่คล้ายปรสิตซึ่งเป็นอันตราย[1] การดำเนินเรื่องส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 22 ถึง 24 มนุษย์กลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถเดินทางในอวกาศได้และมีการก่อตั้งการปกครองระหว่างดวงดาว การเดินทางระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ในอวกาศนั้นใช้เวลานาน โดยปกติจะใช้เวลานานหลายเดือนหรือหลายปี และจำเป็นต้องใช้การแช่แข็งร่างกาย เพื่อให้ร่างกายคงสภาพเดิม[2] ตลอดภาพยนตร์ชุดนั้น ตัวละครหลายตัวมักจะถูกปั่นหัวซ้ำ ๆ และทำให้ตกอยู่ในอันตรายจากความโลภและไร้ศีลธรรมของ เวย์แลนด์-ยูทานิคอร์ป บริษัทขนาดใหญ่ที่แสวงหากำไรจากตัวเอเลี่ยน[1][3]
ภาพยนตร์ชุดยังได้ให้เรื่องราวสมมติของต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ หลายพันล้านปีก่อนเหตุการณ์หลักในภาพยนตร์ มีสมาชิกคนหนึ่งของเผ่าพันธุ์ที่คล้ายมนุษย์โบราณ เรียกว่า เอนจิเนียร์ส ได้เสียสละตัวเอง เพื่อให้ดีเอ็นเอของเขาเป็นจุดกำเนิดของมนุษยชาติ การทดลองอื่น ๆ ของเอนจิเนียร์ส มีการออกแบบสารก่อกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงเพื่อกำจัดเผ่าพันธุ์มนุษย์และปูทางให้เอเลี่ยนเพิ่มจำนวนขึ้นผ่านการการฝังตัวอ่อนในเจ้าของร่าง[4][1] เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหลายชั่วอายุคนนั้นได้รับการบันทึกตลอดแฟรนไชส์
เบื้องหลัง
[แก้]นักเขียนบท แดน โอแบนนอน ต้องการเขียนบทภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โลดโผน โดยร่วมมือกับนักเขียนบทภาพยนตร์ โรนัลด์ ชูเซตต์ หลังทั้งสองคนเขียนบทภาพยนตร์เสร็จ ช่วงแรกใช้ชื่อว่า สตาร์ บีสต์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เอเลี่ยน บทภาพยนตร์ถูกขายให้กับ แบรนดีไวน์โปรดักชันส์ ซึ่งมีข้อตกลงการจัดจำหน่ายกับทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ เหล่านักเขียนคาดว่ามันจะเป็นภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างต่ำ แต่ด้วยความสำเร็จของ สตาร์ วอร์ส ทำให้มีแนวโน้มที่ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์จะลงทุนด้วยจำนวนเงินหลายล้าน[5]
ในบทภาพยนตร์เดิม ลูกเรือยานอวกาศเป็นผู้ชายทั้งหมด แม้ว่าจะระบุไว้ว่า ลูกเรือสามารถเปลี่ยนอวัยวะเพศได้ ตัวละครริปลีย์ ซึ่งจะแสดงโดย ทอม สเกอร์ริตต์ ต่อมา อลัน แลดด์ จูเนียร์ ประธานของฟอกซ์และผู้อำนวยการสร้างที่แบรนดีไวน์ได้ยินข่าวลือว่าฟอกซ์กำลังทำงานภาพยนตร์เรื่องอื่นที่แสดงนำโดยผู้หญิงแกร่ง จึงได้มีการตัดสินใจให้บทของริปลีย์เป็นผู้หญิงและสเกอร์ริตต์ให้แสดงเป็นกัปตันดัลลาสแทน
ฮาแอร์ กีเกอร์ จิตรกรและช่างแกะสลักชาวสวิส เป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยนในร่างโตเต็มวัยและซากยานอวกาศ ขณะที่ เมอบิอุส ศิลปินชาวฝรั่งเศส สร้างรูปลักษณ์ของชุดอวกาศและ รอน คอบบ์ ออกแบบฉากในการถ่ายทำ[6][7][8]
ขณะที่ภาพยนตร์ เอเลี่ยน ที่กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ นั้นประสบความสำเร็จ ฟอกซ์ไม่ได้ตัดสินใจให้มีการสร้างภาคต่อในทันที จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1983 เมื่อ เจมส์ แคเมรอน แสดงความสนใจต่อผู้อำนวยการสร้าง เดวิด ไกเลอร์ ที่ต้องการจะสานต่อเนื้อเรื่องของ เอเลี่ยน หลัง ฅนเหล็ก 2029 ของแคเมรอนกลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมในบ็อกซ์ออฟฟิศ แคเมรอนและเกล แอนน์ เฮิร์ดได้รับการอนุมัติให้กำกับและสร้างภาคต่อ เอเลี่ยน กำหนดฉายปี ค.ศ. 1986[9] แคเมรอนเขียนบทภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก จากเนื้อเรื่องที่เขาพัฒนาขึ้นมากับไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์
หลังจากภาพยนตร์ภาคที่สองฉายแล้ว วีเวอร์ไม่สนใจที่จะกลับมารับบทเดิม ทำให้ผู้อำนวยการสร้าง เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ ต้องสร้างภาพยนตร์ เอเลี่ยน ภาคที่สามโดยที่ไม่มีตัวละครรีปลีย์ แต่ โจ รอธ ประธานของฟอกซ์ ไม่เห็นด้วยกับการไม่มีตัวละครรีปลีย์ และวีเวอร์ได้รับข้อเสนอด้วยเงินเดือนจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐและให้มีชื่อเป็นผู้อำนวยการสร้างใน เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล ไกเลอร์, ฮิลล์และแลร์รี เฟอร์กูสัน เป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์จากเนื้อเรื่องของบทภาพยนตร์ก่อนหน้านี้โดย วินเซนต์ วอร์ด ตั้งใจจะปิดฉากแฟรนไชส์ เอเลี่ยน ด้วยการสังหารตัวละครริปลีย์ ซึ่งเป็นตัวละครหลัก เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล เผชิญกับการสร้างที่ติดขัด ด้วยความยากลำบากในการเขียนบทภาพยนตร์, ปัญหาในการหาผู้กำกับ, เริ่มต้นการสร้างทั้ง ๆ ที่บทภาพยนตร์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ รวมถึงการแทรกแซงจากสตูดิโอจำนวนมาก[10][11]
ขณะที่การตอบรับของ เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล จากแฟนและนักวิจารณ์นั้นไม่ดีนัก แต่ภาพยนตร์กลับทำเงินได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก ทำให้ฟ็อกซ์สนใจในการสานต่อแฟรนไชส์ เมื่อปี ค.ศ. 1996 การสร้างภาพยนตร์เอเลี่ยนเรื่องที่สี่ เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ ก็เริ่มขึ้น ริปลีย์นั้นไม่อยู่ในบทร่างแรกของบทภาพยนตร์และวีเวอร์ไม่สนใจที่จะกลับมารับบทเดิม สุดท้ายเธอก็กลับมาเข้าร่วมโครงการหลังได้รับข้อเสนอด้วยเงินเดือนจำนวน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีอำนาจในการควบคุมความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น รวมถึงการอนุมัติของผู้กำกับ บทดำเนินเรื่อง 200 ปีหลังเหตุการณ์ใน เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล ฟิ้นคืนชีพตัวละครริปลีย์โดยการโคลนนิ่งมนุษย์[12] ภาพยนตร์กำกับโดย ฌอง-ปีแอร์ จูเนต์ ภาพยนตร์ประสบปัญหาการถ่ายทำที่ยืดเยื้อและอธิบายโดยผู้เขียนบท จอสส์ วีดอน ว่าทำ ทุกอย่างผิดไปหมด จากบทของเขา[13] ภาพยนตร์ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1997 ได้รับการตอบรับที่หลากหลาย, ทำกำไรคืนจากบ็อกซ์ออฟฟิศได้เพียงเล็กน้อยและไม่ประสบความสำเร็จ
ภาพยนตร์
[แก้]ภาพยนตร์ | วันฉายในสหรัฐ | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบทภาพยนตร์ | เนื้อเรื่องโดย | ผู้อำนวยการสร้าง |
---|---|---|---|---|---|
ภาพยนตร์ชุดเอเลี่ยน | |||||
เอเลี่ยน | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 | ริดลีย์ สก็อต | แดน โอแบนนอน | แดน โอแบนนอนและโรนัลด์ ชูเสตต์ | กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ |
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 | เจมส์ แคเมรอน | เจมส์ แคเมรอน, เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ | เกล แอนน์ เฮิร์ด | |
เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 | เดวิด ฟินเชอร์ | เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์และแลร์รี เฟอร์กูสัน | วินเซนด์ วอร์ด | กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ |
เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | ฌอง-ปีแอร์ จูเนต์ | จอสส์ วีดอน | กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์และบิลล์ บาดาลาโต | |
โพรมีธีอุส | 8 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | ริดลีย์ สก็อต | จอน สไปทส์และเดมอน ลินเดลอฟ | เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์และริดลีย์ สก็อต | |
เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 | จอห์น โลแกนและดันเต ฮาร์เปอร์ | แจ็ค แพกเลนและไมเคิล กรีน | เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์, ริดลีย์ สก็อต, มาร์ก ฮัฟฟามและมิคาอิล ชีฟเฟอร์ | |
เอเลี่ยน: โรมูลัส | 16 สิงหาคม ค.ศ. 2024 | เฟเด อัลวาเรซ | เฟเด อัลวาเรซและโรโด ซายาเกซ | ริดลีย์ สก็อต, ไมเคิล พรัสและวอลเตอร์ ฮิลล์ | |
ภาพยนตร์ข้ามฝั่ง | |||||
เอเลี่ยนปะทะพรีเดเตอร์ สงครามชิงเจ้ามฤตยู | 13 สิงหาคม ค.ศ. 2004 | พอล ดับบลิว.เอส. แอนเดอร์สัน | พอล ดับบลิว.เอส. แอนเดอร์สัน, แดน โอบานอนและโรนัลด์ ชูเซตต์ | จอห์น เดวิส, กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด กิลเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ | |
สงครามฝูงเอเลี่ยน ปะทะ พรีเดเตอร์ 2 | 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007 | เกร็กและคอลิน สเตราส์ | เชน ซาเลอร์โน | จอห์น เดวิส, เดวิด กิลเลอร์และวอลเตอร์ ฮิล |
ภาพยนตร์ชุดดั้งเดิม
[แก้]เอเลี่ยน (1979)
[แก้]ขณะที่ยานอวกาศเชิงพาณิชย์ ยูเอสซีเอสเอส นอสโตรโม กำลังเดินทางกลับโลก ได้จับสัญญาณลึกลับจากยานอวกาศมนุษย์ต่างดาวที่ถูกทิ้งร้างบนดาวเคราะห์น้อย ลูกเรือของยานอวกาศจึงเดินทางไปสำรวจที่นั่น ขณะที่กำลังสำรวจยานอวกาศดังกล่าว หนึ่งในลูกเรือของ นอสโตรโม ค้นพบซากศพนักบินของยานและห้องขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยวัตถุคล้ายไข่เป็นจำนวนมาก ไข่ใบหนึ่งได้ปล่อยสัตว์ตัวหนึ่งออกมาแล้วไปติดที่หน้าของลูกเรือคนหนึ่งแล้วทำให้เขาหมดสติ ลูกเรือคนอื่น ๆ จึงนำตัวเขาขึ้นยานอวกาศแล้วกักตัว ต่อมาปรสิตได้ตายแล้วลูกเรือคนดังกล่าวก็ฟิ้นขึ้นเป็นปกติ แต่ต่อมาไม่นาน สิ่งมีชีวิตต่างดาวระเบิดออกมาจากหน้าอกของเขาและโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นสัตว์ประหลาดสูง 2.5 เมตร แล้วก็เริ่มไล่ฆ่าลูกเรือคนอื่น ๆ
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986)
[แก้]เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล (1992)
[แก้]เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ (1997)
[แก้]ภาพยนตร์ชุดข้ามฝั่ง
[แก้]เอเลี่ยนปะทะพรีเดเตอร์ สงครามชิงเจ้ามฤตยู (2004)
[แก้]สงครามฝูงเอเลี่ยน ปะทะ พรีเดเตอร์ 2 (2007)
[แก้]ภาพยนตร์ชุดต้น
[แก้]โพรมีธีอุส (2012)
[แก้]เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ (2017)
[แก้]ภาพยนตร์ภาคระหว่าง
[แก้]เอเลี่ยน: โรมูลัส (2024)
[แก้]อนาคต
[แก้]การตอบรับ
[แก้]- รายการตัวบ่งชี้
- (E) ระบุจำนวนตัวเลขตามข้อมูลที่มีอยู่
ตัวเลขในตารางนี้ไม่ได้ถูกปรับอัตราเงินเฟ้อ ในกรณีที่จำนวนตัวเลขสองตัวแตกต่างกันที่ยกมาจากรายได้ของบ็อกซ์ออฟฟิศ ข้อมูลนั้นถูกนำมาจากสองแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน
การทำเงินในบ็อกซ์ออฟฟิศ
[แก้]ภาพยนตร์ | วันฉาย | รายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศ | ทุนสร้าง | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
อเมริกาเหนือ | ต่างประเทศ | ทั่วโลก | ||||
เอเลี่ยน | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 | $81,900,459 | $122,698,829 | $204,599,288 | $11 ล้าน | [14] |
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 | $85,160,248 | $98,156,207 | $183,316,455 | $18 ล้าน | [14] |
เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 | $55,473,545 | $104,340,953 | $159,814,498 | $50 ล้าน | [14] |
เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | $47,795,658 | $113,580,411 | $161,376,069 | $70 ล้าน | [14] |
โพรมีธีอุส | 8 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | $126,477,084 | $276,877,385 | $403,354,469 | $125 ล้าน | [14] |
เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 | $74,262,031 | $166,629,732 | $240,891,763 | $97 ล้าน | [14] |
เอเลี่ยน: โรมูลัส | 16 สิงหาคม ค.ศ. 2024 | $97,199,286 | $217,200,000 | $314,399,286 | $80 ล้าน | [14] |
ทั้งหมด | $568,268,311 | $1,099,483,517 | $1,666,783,169 | (E) $376 ล้าน |
การตอบรับของนักวิจารณ์
[แก้]ภาพยนตร์ | รอตเทนโทเมโทส์ | เมทาคริติก | ซีนะมาสกอร์[15] |
---|---|---|---|
เอเลี่ยน | 93% (196 บทวิจารณ์)[16] | 89 (34 บทวิจารณ์)[17] | — |
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก | 94% (140 บทวิจารณ์)[18] | 84 (22 บทวิจารณ์)[19] | A |
เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล | 48% (65 บทวิจารณ์)[20] | 59 (20 บทวิจารณ์)[21] | C |
เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ | 53% (86 บทวิจารณ์)[22] | 63 (21 บทวิจารณ์)[23] | B− |
โพรมีธีอุส | 73% (312 บทวิจารณ์)[24] | 64 (43 บทวิจารณ์)[25] | B |
เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ | 65% (409 บทวิจารณ์)[26] | 65 (52 บทวิจารณ์)[27] | B |
เอเลี่ยน: โรมูลัส | 81% (261 บทวิจารณ์)[28] | 64 (54 บทวิจารณ์)[29] | B+ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Aliens (Motion picture). A 20th Century Fox / Brandywine Production. OCLC 901628690.
- ↑ Dean Foster, Alan (1978). Alien: The Official Novelization. Bankside, London, United Kingdom: Titan Publishing Group. p. 11. ISBN 978-1783290154.
- ↑ Alien 3 (Motion picture). A 20th Century Fox / Brandywine Production. May 22, 1992. OCLC 776089792.
- ↑ Prometheus (Motion picture). 20th Century Fox in association with Scott Free/Brandywine Productions. June 8, 2012. OCLC 1001820935.
- ↑ "Star Beast: Developing the Story", The Beast Within: The Making of Alien.
- ↑ Lina Badley, Film, and the Body Fantastic: Contributions to the Study of Popular Culture, Greenwood Press 1995
- ↑ McIntee, David A. (2005). Beautiful Monsters: The Unofficial and Unauthorised Guide to the Alien and Predator Films. Telos. pp. 19–28.
- ↑ Sutton, Robert. "R0BTRAIN's Bad Ass Cinema: Alien". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2007. สืบค้นเมื่อ September 4, 2006.
- ↑ Schickel, Richard (July 28, 1986). "Help! They're Back!". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2007. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
- ↑ "Last in Space". Entertainment Weekly. May 29, 1992. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2008. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
- ↑ "David Fincher". Senses of Cinema. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2007. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
- ↑ Hochman, David (December 5, 1997). "Beauties and the Beast". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2008. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
- ↑ "Joss for a minute: A brief chat with Joss Whedon". December 16, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2007. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 "Alien franchise". The Numbers. สืบค้นเมื่อ August 18, 2024.
- ↑ "CinemaScore". CinemaScore. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2022. สืบค้นเมื่อ April 13, 2022.
- ↑ "Alien". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "Alien (1979): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ "Aliens". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ March 16, 2020.
- ↑ "Aliens (1986): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 20, 2018.
- ↑ "Alien 3". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
- ↑ "Alien 3 (1992): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ "Alien Resurrection". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
- ↑ "Alien Resurrection (1997): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ "Prometheus". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "Prometheus (2012): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ "Alien: Covenant (2017)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
- ↑ "Alien: Covenant reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ June 12, 2017.
- ↑ "Alien: Romulus | Rotten Tomatoes". www.rottentomatoes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-18.
- ↑ "Alien: Romulus". www.metacritic.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-16.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Alien Woman: The Making of Lt. Ellen Ripley (by Ximena Gallardo C. and C. Jason Smith, Continuum, 272 pages, 2004, ISBN 0-8264-1910-0)
- The Book of Alien (by Paul Scanlon and Michael Gross, Star Books, 112 pages, 1979, ISBN 0-352-30422-7, Titan Books, 2003, ISBN 1-85286-483-4)
- Making of Alien Resurrection (by Andrew Murdock and Rachel Aberly, Harper Prism, 1997 ISBN 0-06-105378-3)
- The Complete Aliens Companion (by Paul Sammon, Harper Prism, 1998, ISBN 0-06-105385-6)
- The Alien Quartet: A Bloomsbury Movie Guide (by David Earl Thomson, Bloomsbury Publishing, 208 pages, 1999, ISBN 1-58234-030-7, as The Alien Quartet (Pocket Movie Guide), 2000 ISBN 0-7475-5181-2)
- Beautiful Monsters: The Unofficial and Unauthorized Guide to the Alien and Predator Films (by David A. McIntee, Telos, 272 pages, 2005, ISBN 1-903889-94-4)
- Alien Vault: The Definitive Story of the Making of The Film (By Ian Nathan) 2011, 176 pages. Includes inserts with sticker, mini posters, art and storyboards, Blueprints and other material. ISBN 9780760341124